16 พฤษภาคม 2022, 10:47:00 PM
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
สวท.ลำปาง FM97MHz
>
บริการข่าวสารจาก สวท.ลำปาง
>
ข่าวบริการ-ข่าวรับสมัคร-สมัครงาน
>
“กยศ. แนะเด็กกู้เรียนสายวิทย์และอาชีวะ จบแล้วมีงานทำ”
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: “กยศ. แนะเด็กกู้เรียนสายวิทย์และอาชีวะ จบแล้วมีงานทำ” (อ่าน 3012 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 4379
“กยศ. แนะเด็กกู้เรียนสายวิทย์และอาชีวะ จบแล้วมีงานทำ”
«
เมื่อ:
29 เมษายน 2011, 03:34:18 PM »
“กยศ. แนะเด็กกู้เรียนสายวิทย์และอาชีวะ จบแล้วมีงานทำ”
กยศ. สนับสนุนการกู้ยืมให้นักเรียนหันมาเรียนสายอาชีพและสาขาวิทยาศาสตร์มากขึ้น เน้นความต้องการของตลาดแรงงาน จบแล้วมีงานทำ พร้อมนำผลประเมินคุณภาพการศึกษามาเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรจำนวนผู้กู้ยืมรายใหม่ให้กับสถานศึกษา
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า ในปีนี้ กองทุนฯ มีนโยบายที่จะกระตุ้นให้มีผู้เรียนในสายอาชีพมากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับ ปวช. ปวส. รวมถึงการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นการสร้างคนในการพัฒนาประเทศ โดยปัจจุบัน ตลาดแรงงานมีความต้องการผู้ที่เรียนจบอาชีวศึกษา ซึ่งสามารถทำงานที่ใช้ความชำนาญมีทักษะฝีมือมากกว่าสายสามัญ เป็นสาขาที่จบแล้วมีโอกาสได้งานทำสูงมาก รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสาขาวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษาให้มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาเป็นสาขาวิชาที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการแข่งขันของประเทศ และผู้กู้ยืมของกองทุนฯ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นผู้กู้ยืมที่เลือกเรียนในสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งบางสาขานั้นมีการรับนักศึกษาเป็นจำนวนมาก เมื่อเรียนจบแล้วส่วนใหญ่จะหางานทำได้ยาก
ดังนั้น เพื่อให้เป็นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้กองทุนฯ เป็นกลไกในการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน กองทุนฯ จึงมีนโยบายสนับสนุนนักเรียน นักศึกษาให้เลือกเรียนสายอาชีพและสาขาวิทยาศาสตร์ที่ขาดแคลน ตัวอย่างสายอาชีพที่ขาดแคลน ได้แก่ ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างยานยนต์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างกลโรงงาน บัญชีพาณิชยกรรม เป็นต้น ส่วนตัวอย่างสาขาวิทยาศาสตร์ที่ขาดแคลน ได้แก่ โลจิสติกส์ วิศวกรรมปิโตรเคมี เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์และพลังงาน อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีชีวภาพและสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์พื้นฐาน การจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ เป็นต้น
นโยบายที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ กองทุนฯ ได้นำผลประเมินคุณภาพการศึกษามาเป็นหลักเกณฑ์ที่มีค่าน้ำหนักสูงในการจัดสรรจำนวนผู้กู้ยืมรายใหม่ให้กับสถานศึกษา เนื่องจากกองทุนฯ เล็งเห็นว่า สถานศึกษาจะต้องปรับปรุงด้านคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเปิดการเรียนการสอนในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ มิใช่เป็นการเปิดสอนโดยเน้นการเพิ่มจำนวนรับนักศึกษาโดยหวังว่าจะได้กู้ยืมเงินจากกองทุนฯ มากขึ้นตามจำนวนนักศึกษาที่รับอย่างเดียว นอกจากนั้น อยากฝากให้นักเรียน นักศึกษาต้องมีการวางแผนการศึกษา โดยเลือกเรียนในสาขาสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและเลือกเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ เพราะจะมีโอกาสหางานทำได้ง่ายกว่า ทำให้มีรายได้ที่จะส่งเงินคืนกองทุนฯ เพื่อหมุนเวียนนำมาให้รุ่นน้องได้กู้ยืมต่อไป จะทำให้กองทุนมีความเข้มแข็งและใช้เงินได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด เพราะไม่สูญเปล่าไปกับการกู้ยืมเรียนในสาขาที่หางานทำได้ยากที่มีจำนวนผลิตออกมามากเกินไป ซึ่งเป็นผลให้เกิดปัญหาในเรื่องการชำระเงินตามมา
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
ข้อมูลสถานี
-----------------------------
=> เกี่ยวกับสถานี
=> บุคลากร
=> ข้อมูลด้านเทคนิค
-----------------------------
บริการข่าวสารจาก สวท.ลำปาง
-----------------------------
=> ข่าวสาร จังหวัดลำปาง
=> ข่าวบริการ-ข่าวรับสมัคร-สมัครงาน
=> ข่าวประกวดราคา-สอบราคา-ขายทอดตลาด
-----------------------------
สื่อเผยแพร่
-----------------------------
=> สื่อเผยแพร่
=> งบทดลองรายเดือน
กำลังโหลด...